Engineering Syndrome เรารับออกแบบ วิเคราะห์โครงสร้าง และเขียนแบบก่อสร้าง โดยใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ทันสมัย ทีมงานของเราเป็น สหวิชาชีพด้านงานก่อสร้าง มีทั้ง สถาปนิก วิศวกรหลายสาขา สามารถออกแบบได้ตั้งแต่ บ้านพักอาศัย โรงงาน สำนักงาน สถานบริการด้านสุขภาพ ด้วยประสบการณ์การออกแบบที่มีมาอย่างยาวนาน
เราสามารถออกแบบอาคารที่เป็นอาคารสาธารณะตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นอาคารที่มีลักษณะการใช้งานของคนจำนวนมากร่วมกัน เนื่องจากทีมงานของเรามีทั้ง สามัญสถาปนิก สามัญและวุฒิวิศวกร หากท่านกำลังมองหาผู้ออกแบบที่สามารถออกแบบอาคารในลักษณะพิเศษดังกล่าว เราให้คำแนะนำท่านได้
ส่วนมากเราจะร่วมงานกับมัณฑนากรซึ่งทำหน้าที่ออกแบบภายในอาคารให้เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งมีการพิจารณาวัสดุที่เหมาะสมกับอาคารของท่านโดยปรึกษากับเจ้าของผลิตภัณฑ์โดยตรง เพื่อทราบถึงความเหมาะสมและข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่เจ้าของอาคารมีความประสงค์จะเลือกใช้งาน จึงลดปัญหาที่จะเกิดหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จคอยกวนใจ
รับออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้าง
Design and Analysis Structure.
- ออกแบบ บ้านพักอาศัย ไม่จำกัดจำนวนชั้น
- ออกแบบ ห้องแถวหรือHometown
- ออกแบบ โกดังสินค้า อาคารโรงงาน
- ออกแบบ อาคารชุดพักอาศัยรวม
- ออกแบบ สถานบริการสุขภาพ คลินิก
- ออกแบบ โรงพยาบาล
ออกแบบ บ้านพักอาศัย
รับออกแบบวิเคราะห์โครงสร้างบ้านพักอาศัย พร้อมเขียนแบบก่อสร้าง และรับรองแบบแปลนเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
ออกแบบ โกดัง โรงงาน
รับออกแบบวิเคราะห์โครงสร้างอาคารโรงงาน โกดังสินค้า พร้อมเขียนแบบก่อสร้าง และรับรองแบบแปลนเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
ออกแบบ อาคารสาธารณะ
รับออกแบบวิเคราะห์โครงสร้างอาคารสาธารณะ พร้อมเขียนแบบก่อสร้าง และรับรองแบบแปลนเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
สนใจให้เราออกแบบโครงสร้าง/
ควบคุมงานก่อสร้าง
(สามารถฝากข้อความทางไลน์ได้ครับ หากไม่สะดวกโทรหา)
โทร. 085-044-5515
หลักการออกแบบโครงสร้างที่ดี
อาคารต้องต้านทานแรงลมได้
อาคารที่เราออกแบบทุกหลัง ต้องออกแบบให้สามารถต้านทานแรงลมได้ ซึ่งแรงลมที่เรานำมาคำนวณคือค่าความแรงในทุกๆรอบ 50 ปี จะเกิดขึ้น 1 ครั้ง เป็นไปตาม มาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.1311-50) เนื่องจากมีความแรงมากกว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 6 เมื่ออาคารยิ่งมีความสูงมากขึ้น แรงดันของลมตอบสนองกับอาคารยิ่งมีความแรงมากขึ้น
ดาวน์โหลดมาตรฐานอาคารมีความเหนียวเพียงพอเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
เนื่องจากปัจจุบันเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อยครั้งขึ้นในที่ต่างๆทั่วโลก และมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงกำหนดมาใหม่ เพื่อให้อาคารมีความเหนียวเพียงพอที่จะต้านทานแผ่นดินไหวได้ โดยไม่พังทลายลงมาแบบทันทีทันได สามารถประวิงเวลาให้ผู้ใช้อาคารสามารถอพยพออกมาได้ทัน
ดาวน์โหลดมาตรฐานประเภทของอาคาร จำแนกตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
- อาคารที่อยู่อาศัย คือ อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลใช้อยู่อาศัยได้ทั้งกลางวัน และกลางคืนไม่ว่าจะถาวะหรือชั่วคราว
- ห้องแถว คือ อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไปมีผนังแบ่งอาคารเป็นคูหา และประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่
- ตึกแถว คือ อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไปมีผนังแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่
- บ้านแถว คือ ห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้ว หรือแนวเขตที่ดินตัวอาคารแต่ละคูหา และมีความสูงไม่เกินสามชั้น
- บ้านแฝด คือ อาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยก่อสร้างติดต่อกันสองบ้าน มีผนังแบ่งอาคารเป็นบ้าน มีที่ว่างระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของแต่ละบ้านและมีทางเข้าออกของแต่ละบ้านแยกจากกันเป็นสัดส่วน
- อาคารพาณิชย์ คือ อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์พาณิชยกรรม หรือบริการธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตเทียบได้น้อยกว่า 5 แรงม้า และให้หมายความรวมถึงอาคารอื่นใดที่ก่อสร้างห่างจากถนน หรือทางสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นอาคารเพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้
- อาคารสาธารณะ คือ อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนได้โดยทั่วไปเพื่อกิจกรรมทางราชการ การเมือง การศึกษา การศาสนา การสังคม การนันทนาการ หรือการพาณิชยกรรม เช่น โรงมหรสพ หอประชุม โรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษา หอสมุด สนามกีฬากลางแจ้ง สนามกีฬาในร่ม ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานบริการ ท่าอากาศยาน อุโมงค์ สะพาน อาคารจอดรถ สถานีรถ ท่าจอดเรือ โป๊ะจอดเรือ สุสาน ฌาปนกิจสถาน ศาสนสถาน
- อาคารพิเศษ คือ อาคารที่ต้องการมาตรฐานความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยเป็นพิเศษ
- อาคารอยู่อาศัยรวม คือ อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกออกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว
- อาคารขนาดใหญ่ คือ อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่ว หรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
- สำนักงาน คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการ
- คลังสินค้า คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับเก็บสินค้า หรือสิ่งของเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืออุตสาหกรรม
- โรงงาน คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
- โรงมหรสพ คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือแสดงมหรสพอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการแสดงนั้น โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
- โรงแรม คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
- ภัตตาคาร คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่ขายอาคารหรือเครื่องดื่ม โดยมีพื้นที่สำหรับตั้งโต๊ะอาหารไว้บริการภายในอาคารหรือภายนอกอาคาร
หากต้องการขออนุญาตสร้างอาคาร แต่ยังไม่แน่ใจว่าอาคารของท่านจัดอยู่ในประเภทใด สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือสอบถามไปที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบต. เทศบาล ในเขตพื้นที่ของท่าน หรือ ทางกรมโยธาธิการและการผังเมืองโดยตรง ได้ที่ http://www.dpt.go.th โทร สำนักงานพระรามหก : 0-2299-4000 หรือ สำนักงานพระรามเก้า : 0-2201-8000