สวัสดีเพื่อนๆวิศวกรทุกท่านครับ วันนี้ผมจะขออธิบายคร่าวๆถึง “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” (Hydraulic Cement) ที่ปัจจุบันเริ่มจะคุ้นหู และเริ่มมีการผลักดันให้มีการใช้งานเพิ่มขึ้นกันอย่างกว้างขวางนะครับ ในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องของ เหตุใดเราจึงต้องใช้ไฮดรอลิกซีเมต์ และคุณสมบัติพื้นฐานที่ควรทราบกันนะครับ
ความเป็นมาของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก
ตามที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และได้ให้สัตยาบันตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในปี พ.ศ.2558 ที่จะมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas: GHC) ลงร้อยละ 20 จากกรณีปกติภายในปี พ.ศ.2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน (พ.ศ.2550)
หนึ่งในมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Processes and Product Use: IPPU) คือ การกำหนดให้ใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดในการผลิตปูนซีเมนต์ เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งโดยปกติการผลิตปูนซีเมนต์จะมีกระบวนการเผาวัตถุดิบเพื่อเปลี่ยนให้เป็ฯปูนเม็ด ซึ่งเป็ฯขั้นตอนที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาประมาณ 800 kg-CO2 ต่อตันปูนเม็ด ทางผู้ผลิตปูนซีเมนต์จึงนำวัสดุที่ใช้แทนปูนซีเมนต์มาเป็นส่วนผสมเพื่อทดแทนปูนซีเมนต์บางส่วน เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เรียกว่า “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” (Hydraulic Cement)
คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก
ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เป็นปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.2594-2556 โดยมีความคล้ายคลึงกับมาตรฐาน ASTM C1157 ของประเทศสหรัฐอเมริกา
ดาวน์โหลด มอก.2594-2556อัตราส่วนผสมปูนซีเมนต์และปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก
ความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน มอก.15-2555 สำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และมาตรฐาน มอก.2594-2556 สำหรับปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก อยู่ในข้อกำหนดในการควบคุมเป็ฯหลัก กล่าวคือ
- มอก.15-2555 เน้นควบคุมที่คุณลักษณะทางเคมีและฟิสิกส์ของปูนซีเมนต์
- มอก.2594-2556 เน้นควบคุมที่คุณสมบัติและประสิทธิภาพของปูนซีเมนต์
ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกสามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้างได้ทั่วไป และงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องการกำลังอัดและความทนทานสูงเช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ข้อมูลจาก CEMBUREAU (The European Cement Association) แสดงให้เห็นว่าในสหภาพยุโรปมีการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (ตามมาตรฐาน EN 197-1) มากกว่าร้อยละ 75 ของปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ทั้งหมด และหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียก็มีปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เพิ่มมากขึ้น อาทิ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของซีเมนต์ธรรมดากับปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก
สรุป
สำรับสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้น ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยลดสภาวะเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว และก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และวงการก่อสร้างในอนาคต
แหล่งอ้างอิง : สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย
ใช้เทถนน คอนกรีต ได้หรือไม่
ใช้เทถนนได้ครับ โดยอัตรส่วนผสมสามารถออกแบบได้ตามกำลังอัดที่เราต้องการได้เลยครับ
Thank you so much!