Engineering Syndrome   เรารับควบคุมงานก่อสร้าง กำกับการผลิตให้เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบกำหนดมาในแบบแปลน และให้เป็นไปตามหลักวิชาการ หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดขัดแย้งกันระหว่างแบบแปลนและการก่อสร้างหน้างาน ก็สามารถแก้ปัญหาได้ โดยการใช้ความรู้ความสามารถทางวิศวกรรมศาสตร์แก้ไขได้ทีมงานของเราเป็น สหวิชาชีพด้านงานก่อสร้าง มีทั้ง สถาปนิก วิศวกรหลายสาขา

รับควบคุมงานก่อสร้าง

Construction Supervision

  • ควบคุมงานก่อสร้าง บ้านพักอาศัย 
  • ควบคุมงานก่อสร้าง ห้องแถวหรือHometown
  • ควบคุมงานก่อสร้าง โกดัง โรงงาน
  • ควบคุมงานก่อสร้าง สถานบริการสุขภาพ

ผลงานการให้คำแนะนำการก่อสร้างที่ผ่านมา

อาคารผู้ป่วยใน โรงพยาบาลท่าโรงช้าง

อาคารสถานพยาบาล 5 ชั้น

อาคารพัก 6 ชั้น 40 ห้อง

อาคารคลินิกครอบครัว โรงพยาบาลยะลา

อาคารสถานพยาบาล 4 ชั้น

ควบคุมงานก่อสร้าง

การทำเสาเข็มเจาะ Wet Process

อาคาร 3 ชั้น

อาคารพัก 3 ชั้น

อาคารพัก 96 ห้อง 8 ชั้น

จักรกริสน์

สนใจให้เราออกแบบโครงสร้าง/

ควบคุมงานก่อสร้าง

 

(สามารถฝากข้อความทางไลน์ได้ครับ หากไม่สะดวกโทรหา)

 

ปุ่มไลน์

โทร. 085-044-5515

หากท่านเจ้าของบ้านมีเวลาที่จะตรวจสอบงานก่อสร้างด้วยตัวเอง ก็เป็นทางเลือกที่ทำได้ในระดับเบื้องต้น โดยหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง วิธีการติดตั้ง และการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับการใช้งาน วันนี้ Engineering Syndrome จะขอนำความรู้เรื่องพื้นฐานในการตรวจสอบการก่อสร้างมาแชร์ นะครับ

การเลือกใช้ชนิดของฐานรากและเสาเข็ม

ฐานรากเป็นชิ้นส่วนของอาคารแรกที่ต้องก่อสร้าง และยังเป็นโครงสร้างหลักในการรับน้ำหนักทั้งหมดที่ถ่ายมาจากอาคารลงสู่ดิน ผมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ที่สุดเนื่องจากอยู่ใต้ดิน การซ่อมแซมหลังใช้อาคารเป็นไปได้ยากและมีราคาแพงที่สุด การก่อสร้างฐานรากให้มั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารตลอดอายุการใช้งานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ

 

โดยทั่วไปฐานรากที่เรานิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างแบบออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฐานรากที่ไม่ต้องใช้เสาเข็มในการรองรับ (ฐานแผ่) และฐานรากที่ใช้เสาเข็มรองรับ การที่เจ้าของอาคารจะเลือกใช้ฐานรากชนิดไหนนั้น ต้องดูคุณสมบัติของดินเป็นสำคัญ ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นหน้าที่ของบริษัทเจาะสำรวจดินที่จะบอกเราได้ว่าดินบริเวณที่เราจะก่อสร้างเหมาะกับฐานรากชนิดไหน

ฐานรากแผ่

ฐานรากแผ่ (ชนิดไม่ต้องใช้เสาเข็ม)

ฐานรากชนิดนี้เป็นฐานรากที่ก่อสร้างได้ง่ายที่สุด ไม่ซับซ้อน ลดขั้นตอนการก่อสร้างเสาเข็มไป ทำให้การก่อสร้างรวดเร็วและประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง แต่มีข้อจำกัดในการเลือกใช้ คือ ต้องก่อสร้างบนพื้นดินที่เป็นดินแข็ง ห้ามก่อสร้างบนชั้นดินอ่อน เพราะอาจทำให้โครงสร้างอาคารทรุดเสียหายได้

พื้นที่ที่นิยมก่อสร้างฐานรากชนิดนี้ได้แก่ ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย ที่มีดินเป็นดินภูเขา หิน และดินทราย เป็นต้น

ฐานรากเสาเข็ม

ฐานรากชนิดรองรับด้วยเสาเข็ม

ฐานรากชนิดนี้โดยส่วนมากนิยมก่อสร้างในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยุธยา ราชบุรี เป็นต้น เนื่องจากเป็นดินอ่อนที่ดินชั้นบนๆ  เสาเข็มที่ใช้รองรับใต้ฐานรากชนิดนี้ ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เสาเข็มเจาะ และเสาเข็มตอก

หากท่านอยากทราบว่าเสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะแตกต่างกันอย่างไร โปรดติดตามบทความที่เราจะทำขึ้นต่อไป

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready minx concrete)

หัวข้อนี้ขอพูดถึง คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mix Concrete) ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมใช้งานมาก เพราะประหยัดเวลา และแรงงานคนไปได้มาก แถมควบคุมคุณภาพได้มากกว่าการผสมด้วยแรงงานคน (ในกรณีที่ไม่มีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด) ในเมื่อการผลิตนั้นทำมาตั้งแต่โรงงาน (แพล้นท์ปูน) แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าคอนกรีตผสมเสร็จที่เราสั่งไป เมื่อมาถึงหน้างานจะมีคุณภาพตามที่เราต้องการ วันนี้ Engineering Syndrome จะนำวิธีการเลือกคอนกรีตผสมเสร็จาฝากครับ 

มอก. คือ ปัจจัยในการเลือกใช้คอนกรีต

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นเครื่องหมายในการการันตีคุณภาพเบื้องต้นว่าโรงงานผสมคอนกรีต (แพล้นท์ปูน) ที่เราเลือกใช้ได้มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานที่ใช้คือ รหัส มอก.213-2552

ดาวน์โหลด มอก.213-2552

ระยะเวลาการลำเลียงคอนกรีตจากโรงงานถึงหน้างาน

ระยะเวลาการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จจากโรงงานมายังหน้างาน ควรใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที และต้องเทให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง 

เจ้าของบ้านสามารถขอดูใบจ่ายสินค้าแนบมาด้วย เพื่อบอกรายละเอียดของคอนกรีตผสมนั้นๆ เช่น ประเภทของคอนกรีต กำลังอัดของคอนกรีต ค่ายุบตัวของกอนกรีต วันเวลาที่ผลิต เวลาที่รถโม่ออกจากโรงงาน และหากมีการเติมน้ำยาหน่วงการเซ็ตตัวของคอนกรีต ควรจะต้องระบุเอาไว้ด้วย

ฟาสาดคอนกรีต

เลือกใช้ประเภทคอนกรีตผสมเสร็จให้เหมาะสมกับงาน

คอนกรีตปกติที่ใช้โดยทั่วไป ถูกออกแบบให้มีกำลังอัดตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในโครงสร้างทั่วไป เช่น เสา คาน ฐานราก พื้น เป็นต้น การเลือกใช้ คอนกรีตผสมเสร็จ หากต้องการใช้งานคอนกรีตประเภทพิเศษก็สามารถสอบถามได้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

คอนกรีต อินทรีย์ คอนกรีต CPAC

เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต

เหล็กในงานก่อสร้างแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ เหล็กรูปพรรณรีดร้อน เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็นสำหรับงานโครงสร้าง และเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ที่เรากำลังจะพูดถึงกัน ก่อนที่เราจะสามารถเลือกเหล็กเส้นที่ดีมีมาตรฐาน ต้องทราบก่อนว่าปัจจุบันเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และมีหน้าที่อะไร

โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นจะมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ คอนกรีตและเหล็กเส้น โดยคอนกรีตจะมีหน้าที่หลักในการรับแรงอัดเพียงอย่างเดียว วิศวกรผู้ออกแบบจะไม่คิดถึงความสามารถรับแรงดึงของคอนกรีตเนื่องจากรับได้น้อยมาก จะให้เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตเป็นตัวรับแรงดึงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กแทน เนื่องจากคุณสมบัติเด่าของเหล็ก คือ สามารถรับแรงดึงได้สูง และเหนียวไม่ขาดง่าย นั่นเอง

เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตนั้นปัจจุบันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) แบ่งตามลักษณะรูปพรรณและคุณสมบัติในการรับแรงดึง ได้ 2 ชนิด ได้แก่

  1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar) มาตรฐานสากรจะเรียกว่า เหล็ก SR24 มีลักษณผิวเรียบ หน้าตัดกลมเสมอตลอดทั้งเส้น มีขนาดตั้งแต่ 6 – 25 มิลลิเมตร ความยาวโดยทั่วไปที่ขายตามท้องตลาดคือ 10 เมตร นิยมใช้ทำเหล็กปลอกของเสาและคาน 
  2. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) มาตรฐานสากรจะเรียกว่า เหล็ก SD โดยมีมาตรฐานตั้งแต่ SD30, SD40 และ SD50  มีลักษณผิวไม่เรียบ มีการบั้งเหล็กเป็นแนว เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการยึดกับคอนกรีตได้ดีขึ้น มีขนาดตั้งแต่ 12- 40 มิลลิเมตร ความยาวโดยทั่วไปที่ขายตามท้องตลาดคือ 10 เมตร นิยมใช้ทำเหล็กเสริมหลักในเสา คาน และโครงสร้างหลักทั้งหมด

 

เหล็กเส้นกลม

มอก.20-2559